เรื่องที่สนใจ/หัวข้องานวิจัย

ด้านการศึกษาและองค์กร

  • การเรียนการสอนทางเทคโนโลยีเครื่องกล/การเรียนการสอนฐานสมรรถนะหรือผลลัพธ์การเรียนรู้/การเรียนเชิงรุก (Mechanical Engineering Education/Outcomes- or Competency-based Learning/Active Learning)
  • การประเมินการเรียนรู้กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm of learning assessment)
  • แนวโน้มการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และการศึกษาอาชีวศึกษา (Educational Trends and TVET)
  • สะเต็มศึกษาและแนวคิดที่ขยายจากสะเต็ม (STEM Education and Beyond)
  • ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (Professional Learning Community)
  • โค้ชและกระบวนกร (Coach and Facilitator)
  • การพัฒนาองค์กร (Organization Development - OD) การพัฒนาคน (People/Professional Development - PD) และการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning & Development)
  • บทบาทของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในที่ทำงาน (The role of continuing professional development (CPD) in the workplace)
  • การสร้างและ/หรือพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางเทคโนโลยีเครื่องกล (Building up and/or developing teaching aids for Mechanical Engineering Education)

ด้านเทคโนโลยี

  • กลศาสตร์ของวัสดุ
  • กลศาสตร์เครื่องจักรกล
  • การออกแบบชิ้นส่วนทางกล (Mechanical Element Design)
  • การวิเคราะห์ความเค้นเชิงทดลอง (Experimental Stress Analysis)

หัวข้อโครงงานระดับปริญญาตรี

สำหรับนักศึกษาที่จะทำโครงงานในหัวข้อด้านการศึกษา และ/หรือด้านเทคโนโลยีเครื่องกลที่ส่งเสริมงานทางด้านการเรียนการสอนและ/หรืองานทางด้านอุตสาหกรรม ให้มาติดต่อพร้อมเสนอหัวข้อโครงงานที่นักศึกษามีความสนใจเพื่อการพิจารณา โดยนักศึกษาจะต้องจัดเตรียมข้อมูลงานต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นมานำเสนอด้วย หรืออาจพิจารณาจากหัวข้อเรื่องข้างล่าง

ในปี พ.ศ. 2565 หัวข้อโครงงานที่สนใจ คือ

  • ชุดประลองการหาความเค้นอย่างง่าย (รายละเอียดโดยย่อ : สร้างชุดประลองคานปลายยื่นสำหรับทดลองหาค่าความเครียดโดยใช้เกจวัดความเครียด (strain gauge) และหาค่าความเค้นโดยอาศัยกฎของฮุค (Hooke's law))
  • ...
  • ...

หัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา

สำหรับนักศึกษาที่จะทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อด้านการยกระดับการศึกษาและองค์กร และ/หรือด้านเทคโนโลยีเครื่องกลที่พัฒนางานทางด้านการเรียนการสอนและ/หรืองานทางด้านอุตสาหกรรม ให้มาติดต่อพร้อมเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่นักศึกษามีความสนใจเพื่อการพิจารณา โดยนักศึกษาจะต้องจัดเตรียมข้อมูลงานต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นมานำเสนอด้วย หรืออาจพิจารณาจากหัวข้อข้างล่าง

ในปี พ.ศ. 2565 หัวข้อนิพนธ์ที่สนใจ คือ

Learning & Development (L&D) in Education and Workplace

  • How has teaching profession been evolved in recent years?
  • Implement of formative assessment in vocational classroom/division/school?
  • Design of programs for adult learners both in educational setting and workplace
  • Application of organizational theories in resolving problems related to educational institutes
  • Perception of teachers toward workplace-based assessment
  • Employee Engagement
  • Modern learning in the workplace
  • Competencies of outstanding mentors
  • Microlearning in workplace (เนื้อหาอาจเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องกล)

เอกสารที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัย

ลำดับ เอกสาร สาระ
1) Thesis_Proposal_2012 ใช้เป็นแนวทางการเขียนข้อเสนอหัวข้อวิจัย
2) พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ - ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้เป็นแนวทางการทำวิจัยเชิงปริมาณ
3) 2011ResearchWorkshop_LIZ MCINNES ใช้เป็นแนวทางในการคิดงานวิจัย
4) createresearchquestions ใช้เป็นแนวทางในการคิดงานวิจัย
5) from_problem_statement_to_research_questions ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดถ้อยแถลงแห่งปัญหา (problem statement) และกำหนดคำถามการวิจัย (research problem)