Skip to Content

category

Category: เรื่องน่าอ่าน (การศึกษา)

หน้านี้แสดงบทความน่าอ่านเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนหรือผู้สนใจ ตามเจตนารมณ์ว่าด้วย
นำเสนอการ “ค้นหา-อีกครั้ง” (RE-SEARCH) และ “เรียนรู้-อีกครั้ง” (RE-LEARN) เกี่ยวกับ
การเรียนการสอนและการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่จะนำไปสู่
การปฏิบัติและการบริการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

post

จิปาถะ...การเรียนรู้

จิปาถะ...การเรียนรู้ (things you need to know about teaching and learning)
ส่วนนนี้นำเสนอบทความสั้นรายเดือน เดือนละ 4 ฉบับ เกี่ยวกับการเรียนการสอน และองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ผมได้ค้นคว้า อ่าน ทดลองทำ สรุป และเรียบเรียง ผมเชื่อว่าบทความเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานเกี่ยวกับการศึกษา และช่วยขับเคลื่อนหรือปริวรรตการศึกษาของไทยเรา! ดาวน์โหลดได้เลย

ปี 2019
ฉบับเดือนมีนาคม
ฉบับเดือนเมษายน
ฉบับเดือนพฤษภาคม
...

post

ถาม...คำถาม

ถาม...คำถาม (ask the question)
คำถามน่ะเหรอไม่เห็นจะยากเลย...ก็แค่ถาม งานเขียนนี้สรุปมาจากหลายแหล่งและที่สำคัญจากประสบการณ์ของผมเอง ลองตั้งคำถามกับตัวเองดูเล่นเพลินนะครับ...อะไรคือมรดกในอนาคตของฉันที่ฉันจะฝากไว้ให้กับโลกนี้? ถ้าฉันมีเพื่อนที่กำลังพูดกับฉันในเรื่องเดียวกันกับที่ฉันพูดอยู่กับตัวเองแล้ว ฉันจะยอมให้เพื่อนคนนั้นเป็นเพื่อนกับฉันได้นานแค่ไหนนะ? อืม...ท่านสามารถดาวน์โหลดได้...2KnowMySelf

post

การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning - PjBL)

การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning - PjBL)
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในแนว Project-Based Learning สำหรับโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วยข้อมูลที่หลากหลายซึ่งผ่านการรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ออกมาเป็นรูปแบบและข้อเสนอแนะในระดับต่าง ๆเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (PjBL หรือ PBL) โดยมีศูนย์นวัตกรรมนโยบาย (Policy and Innovation Center - PI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการวิจัย...ท่านสามารถดาวน์โหลดรายงานได้...Final Report PjBL-Part 1 และ Final Report PjBL-Part 2

post

กระแสธารแห่งการศึกษา

กระแสธารแห่งการศึกษา (stream of education)
บทความที่ว่าด้วยภาพชินตาในโลกแห่งความจริงและโลกแห่งการศึกษาที่สะท้อนถึงกระบวนทัศน์ ระบบ แนวทาง กลยุทธ์ และวิธีการที่เราใช้ในการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าประสงค์ (educational purpose) อย่างไรก็ตาม กระบวนทัศน์ ระบบ แนวทาง กลยุทธ์ และวิธีการดังที่กล่าวข้างต้นนั้นจะทำให้เราบรรลุเป้าประสงค์ทางการศึกษาจริงละหรือ? ขอเชิญทุกท่านมาร่วมค้นคว้าและตั้งคำถามร่วมกัน...ท่านสามารถดาวน์โหลดได้...กระแสธารแห่งการศึกษา