Skip to Content

archive

Daily Archives: 17 ตุลาคม 2013

post

ความสำคัญของวงกลมมอร์

การคำนวณทางด้านกลศาสตร์วัสดุประยุกต์มักจะใช้สมการทางคณิตศาสตร์เปนหลัก ด้วยเหตุนี้การทำความเข้าใจของผู้เรียนเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพหรือสภาพจริงจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและต้องอาศัยเวลา ในการแปลงค่าความเค้้นนั้น มีวิธีการหนึ่งที่สามารถแสดงความหมายทางคณิตศาสตร์ออกมาเป็นรูปภาพได้ ซึ่งก็คือ วงกลมมอร์

สิ่งที่ถ่ายทอดจากวีดิทัศน์ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวงกลมมอร์ และยิ่งไปกว่านั้นทำให้เห็นว่าเราได้อะไรจากวงกลมมอร์ (ขอบคุณผู้จัดทำวีดิโทัศน์นี้ - thanks purdueMET)

post

ความหนาแน่นของความเค้น

ชิ้นส่วนทางกลส่วนใหญ่มักจะมีรูปร่างที่หลากหลายลักษณะแตกต่างกัน และการที่มีรูปร่างที่หลากหลายนี่เองที่ทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในหน้าตัดของชิ้นส่วนทางกลนั้น เช่น การเจาะรู การเซาะร่อง การทำตกบ่า ฯลฯ ความไม่ต่อเนื่องของหน้าตัดดังกล่าวทำให้เกิดความหนาแน่นของความเค้นและส่งผลต่อการกระจายตัวของความเค้นบริเวณที่ไมต่อเนื่องนั้น ด้วยเหตุนี้ การใช้สมการพื้นฐาน (elementary equations) ในการคำนวณหาค่าความเค้น ณ บริเวณนั้น จึงอาจก่อให้เกิดค่าที่ผิดพลาดได้ ดังนั้นการที่ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่องความหนาแน่นของความเค้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง

สิ่งที่ถ่ายทอดจากวีดิทัศน์ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการเกิดความหนาแน่นของความเค้นที่เกิดขึ้นจริงในแผ่นพลาสติกที่มีรูตรงกลางและอยู่ภายใต้ภาระแรงดึง (ขอขอบคุณผู้สร้างวีดิโอนี้ - thanks Juan Jacobus)