Skip to Content

archive

Daily Archives: 5 ตุลาคม 2013

post

ชุดตัดตัวแบบพลาสติกโฟโตอิลาสติกซิตี

เครื่องนี้สร้างขึ้นโดยนักศึกษาภาควิชา ภายใต้โครงงานระดับปริญญาตรี

post

โฟโตอิลาสติกซิตี (photoelasticity)

 

โฟโตอิลาสติกซิตีคืออะไร?
การออกแบบทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกลศาสตร์ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อของกลศาสตร์ประยุกต์ (applied mechanics) นั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก  ปัจจุบันการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลและโครงสร้างต่างๆ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่มักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น รูปร่าง, น้ำหนัก, ความแข็งแรง,  ความปลอดภัย และความสวยงาม นอกจากนี้เครื่องจักรกลและโครงสร้างดังกล่าวจะต้องมีความสอดคล้องกับมาตรฐานในเรื่องต่าง ๆ เช่น ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และประหยัดพลังงาน ดังนั้นเพื่อให้ได้ตามสิ่งที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องมีวิธีการแก้ปัญหาที่มีความเที่ยงตรงและให้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้อง

การแก้ปัญหาทางด้านกลศาสตร์ประยุกต์จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับปริมาณทางกายภาพที่สำคัญ คือ ความเค้น และ ความเครียด  ปริมาณทั้งสองนี้จะส่งผลต่อรูปร่าง และความแข็งแรงของชิ้นงานที่กำลังถูกออกแบบ  การแก้ปัญหาทางด้านกลศาสตร์ประยุกต์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณดังกล่าวนี้รู้จักกันในชื่อของ การวิเคราะห์ความเค้น (stress analysis) ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ

  • การวิเคราะห์ความเค้นเชิงวิเคราะห์ (analytical stress analysis)
  • การวิเคราะห์ความเค้นเชิงตัวเลข (numerical stress analysis)
  • การวิเคราะห์ความเค้นเชิงทดลอง (experimental stress analysis)

การวิเคราะห์ความเค้นเชิงวิเคราะห์จะอาศัยทฤษฎีสภาพยืดหยุ่น (theory of elasticity) เป็นฐาน  ทฤษฎีสภาพยืดหยุ่นสามารถให้คำตอบหรือผลเฉลยแม่นตรง (exact solutions) ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์  อย่างไรก็ตามทฤษฎีสภาพยืดหยุ่นจะให้ผลเฉลยแม่นตรงสำหรับปัญหาบางปัญหาเท่านั้น  สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากว่าในการวิเคราะห์นั้น ผู้ที่หาผลเฉลยแม่นตรงจะต้องใช้หลักการทางด้านคณิตศาสตร์ชั้นสูงเข้ามาช่วย การที่จะทำให้ครอบคลุมทุกๆปัญหาที่พบในทางปฏิบัตินั้นจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก อ่านเพิ่ม »

post

โพลาริสโคป (large field polariscope)

The setup consists of two linear polarizers and a light source. The light source can either emit monochromatic light or white light depending upon the experiment. First the light is passed through the first polarizer which converts the light into plane polarized light. The apparatus is set up in such a way that this plane polarized light then passes through the stressed specimen. This light then follows, at each point of the specimen, the direction of principal stress at that point. The light is then made to pass through the analyzer and we finally get the fringe pattern.

The fringe pattern in a plane polariscope setup consists of both the isochromatics and the isoclinics. The isoclinics change with the orientation of the polariscope while there is no change in the isochromatics.

อ่านเพิ่ม »