Skip to Content

archive

Daily Archives: 8 ตุลาคม 2013

post

หลักการเซนต์วีแนนท์ (Saint-Venant's principle)

สมการความเค้นอย่างง่าย:
รายวิชากลศาสตร์วัสดุ (mechanics of materials) เป็นรายวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญมากในการศึกษาทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบชิ้นส่วนทางกลรายวิชานี้มีวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อให้นักศึกษานำความรู้จากเนื้อหาที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบชิ้นส่วนดังกล่าวให้สามารถรับภาระได้ตามต้องการ

เรามักจะเริ่มต้นศึกษารายวิชาดังกล่าวด้วยเรื่อง ความเค้นและจะได้บทสรุปในรูปสมการความเค้นตั้งฉากเฉลี่ย

\dpi{80} \fn_cm \small \sigma _{\text{ave}}=\frac{F}{A}
สมมติฐานหลักในการนำสมการความเค้นเฉลี่ยไปใช้งาน คือ ความเค้นจะต้องมีการกระจายตัวแบบเอกรูปทั่วทั้งพื้นที่หน้าตัด กล่าวคือ หากเราตัดพื้นที่ส่วนใดส่วนของชิ้นส่วนที่ห่างจากปลายและนำออกมา พิจารณาแล้ว เราสามารถแทนผลของความเค้นนั้นด้วยแรงที่มีขนาดเท่ากับ หากพิจารณาโดยละเอียดแล้วจะพบว่า สมมติฐานหลักเป็นเพียงเงื่อนไขจำเป็นเท่านั้น ซึ่งยังไม่เพียงพอที่จะทำให้คำกล่าวที่ว่า “ความเค้นจะต้องมีการกระจายตัวแบบเอกรูปทั่วทั้ง พื้นที่หน้าตัด” เป็นจริง ดังนั้น จึงต้องมีสมมติฐานรองหรือเงื่อนไขเพียงพอเพิ่มเติม ดังนี้ 

post

จุดหรือเส้นสมลักษณ์ (isotropic points and lines)

จุดสมลักษณ์และจุดเอกลักษณ์คืออะไร?
เราได้ศึกษาเกี่ยวกับสนามความเค้นมาแล้ว ในสนามความเค้นหนึ่งๆ จะมีริ้วไอโซคลินิกและริ้วไอโซโครมาติก ซึ่งแสดงออกมาในรูปของความแตกต่างของสี นอกเหนือจากริ้วทั้งสองแล้ว ยังมีลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการออกแบบชิ้นส่วนทางกล ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับริ้วไอโซคลินิก

ให้ผู้อ่านลองสังเกตุจุดสีดำสองจุดในตัวแบบวงกลมที่รับแรงกดสี่จุดในรูปซ้ายบน คลังจากพิจารณาแล้ว มีคำถามข้อหนึ่งคือ เหตุใดจึงเกิดจุดสีดำตรงนั้น ทั้งๆ ทีบริเวณอื่นมีลักษณะของสีรุ้ง (ยกเว้นเส้นสีดำรอบๆ ตัวแบบ ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป) จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าลักษณะของสีเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับความเค้น (สนามความเค้น) ดังนั้นปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ที่เกิดขึ้นย่อมจะต้องเป็นผลมาจากสภาวะของความเค้น ณ จุดนั้น ๆ นั่นเอง อ่านเพิ่ม »